ความถนัดแพทย์ MEDDENT
เข้าสู่ระบบ
ปรึกษาแอดมิน
สรุปเนื้อหา เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

สรุปเนื้อหา เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย

เมษายน 25, 2025

สวัสดีคร้าบบ^^ ในโพสต์นี้พี่หมอแม็คจะมาพูดเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองเป็นภาพของกราฟ และต้องนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ต่ออีกหลายเรื่องที่จะกล่าวถึงต่อไป พี่หมอแม็คได้สรุปเนื้อหาไว้ในโพสต์นี้โพสต์เดียวแล้วนะครับ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการทำข้อสอบเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากกันคั้บบ

เรขาคณิตวิเคราะห์

เรขาคณิตวิเคราะห์ (geometric analytic) เป็นการวิเคราะห์รูปเรขาคณิตที่อยู่บนระนาบ ได้แก่ การหาระยะทางหรือความยาวของจุดสองจุด การหาจุดกึ่งกลาง การหาระยะทางระหว่างจุดกับเส้นตรง การหาระยะทางระหว่างเส้นตรงสองเส้น

Post

Ex.1 จงหาระยะทางระหว่างจุด P(2,3)P(2,3) และ Q(2,0)Q(-2,0)

วิธีทำ

ระยะทางระหว่างจุด P(2,3)P(2,3) และ Q(2,0)Q(-2,0) เท่ากับ

PQ=(2(2))2+(30)2=42+32=16+9=25=5 \begin{align*} PQ &= \sqrt{(2-(-2))^2+(3-0)^2}\\ &= \sqrt{4^2+3^2}\\ &= \sqrt{16+9}\\ &= \sqrt{25}\\ &= 5 \end{align*}

Ex.2 จงหาจุดกึ่งกลางระหว่างจุด P(2,3)P(2,3) และ Q(2,0)Q(-2,0)

วิธีทำ

จุดกึ่งกลางระหว่างจุด PP และ QQ มีตำแหน่งเป็น

(2+(2)2, 3+(0)2)=(02, 32)=(0, 1.5) \begin{align*} \left( \frac{2+(-2)}{2},\ \frac{3+(0)}{2} \right) = \left( \frac{0}{2},\ \frac{3}{2} \right) = (0,\ 1.5) \end{align*}

Post

Ex.3 จงหาสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด P(2,3)P(2,3) และ Q(2,0)Q(-2,0)

วิธีทำ

เนื่องจากความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด P(2,3)P(2,3) และ Q(2,0)Q(-2,0) เท่ากับ m=302(2)=34\displaystyle m = \frac{3-0}{2-(-2)} = \frac{3}{4}
ดังนั้น สมการเส้นตรงที่ผ่านจุด P(2,3)P(2,3) และ Q(2,0)Q(-2,0) คือ สมการ

yy1=m(xx1)y0=34(x(2))y=34x+32 \begin{align*} y - y_1 &= m(x - x_1) \\ y - 0 &= \frac{3}{4} (x-(-2)) \\ y &= \frac{3}{4}x + \frac{3}{2} \end{align*}

Ex.4 จงหาระยะตัดแกน YY ของสมการเส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ 22 และผ่านจุด (3,5)(3, 5)

วิธีทำ

เนื่องจากสมการเส้นตรงในรูปมาตรฐาน คือ yy1=m(xx1)y - y_1 = m(x - x_1)
ดังนั้น สมการเส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ 22 และผ่านจุด (3,5)(3, 5) คือ สมการ

yy1=m(xx1)y5=2(x3)y=2x1 \begin{align*} y - y_1 &= m(x - x_1) \\ y - 5 &= 2 (x-3) \\ y &= 2x - 1 \end{align*}

พิจารณาหาระยะตัดแกน YY
ให้ x=0x=0 จะได้ว่า y=2(0)1=1y = 2(0) - 1 = -1
เพราะฉะนั้น ระยะตัดแกน YY เท่ากับ 1-1

ต่อไปพี่แม็คจะให้น้อง ๆ พิจารณาเส้นตรง 22 เส้นต่อไปนี้
Ex.5 จงวาดกราฟของเส้นตรงต่อไปนี้

L:y=2x+41:y=2x22:y=12x+23:y=2x+2 \begin{align*} L &: y = 2x + 4 \\ \ell_1 &: y = 2x - 2\\ \ell_2 &: y = -\frac{1}{2}x + 2\\ \ell_3 &: y = -2x + 2 \end{align*}

พร้อมพิจารณาว่า เส้นตรง LL กับเส้นตรง 1,2,3\ell_1, \ell_2, \ell_3 ขนานกันหรือตั้งฉากกัน

วิธีทำ

เมื่อวาดกราฟของเส้นตรง LL กับเส้นตรง 1\ell_1 ได้เป็นดังนี้

Post

เห็นว่า เส้นตรง LL กับเส้นตรง 1\ell_1 ขนานกัน
เมื่อวาดกราฟของเส้นตรง LL กับเส้นตรง 2\ell_2 ได้เป็นดังนี้

Post

เห็นว่า เส้นตรง LL กับเส้นตรง 2\ell_2 ตั้งฉากกัน
เมื่อวาดกราฟของเส้นตรง LL กับเส้นตรง 3\ell_3 ได้เป็นดังนี้

Post

เห็นว่า เส้นตรง LL กับเส้นตรง 3\ell_3 ไม่ขนานกัน และไม่ตั้งฉากกัน

ซึ่งพี่แม็คสรุปความสัมพันธ์ของเส้นตรง ได้ดังนี้
ให้ 1:y=m1x+c1\ell_1: y=m_1x+c_1 และ 2:y=m2x+c2\ell_2: y=m_2x+c_2 เป็นสมการเส้นตรง
เส้นตรง 1\ell_1 ขนานกับ 2\ell_2 ก็ต่อเมื่อ m1=m2m_1 = m_2
เส้นตรง 1\ell_1 ตั้งฉากกับ 2\ell_2 ก็ต่อเมื่อ m1m2=1m_1 m_2 = -1

Post

Ex.6 จงหาระยะทางระหว่างจุด (4,3)(4,-3) และเส้นตรง 5x3=12(y1)5x-3=12(y-1)

วิธีทำ

เนื่องจากเส้นตรง 5x3=12(y1)5x-3=12(y-1) จัดรูปใหม่ให้อยู่ในรูปทั่วไปได้เป็น 5x12y+9=05x - 12y + 9 = 0
ดังนั้น ระยะทางระหว่างจุด (2,4)(-2,4) และเส้นตรง 5x12y+9=05x - 12y + 9 = 0 เท่ากับ
5(4)12(3)+952+122=6513=5\displaystyle\frac{\left| 5(4) -12(-3)+9\right|}{\sqrt{5^2+12^2}} = \frac{65}{13} = 5 หน่วย

Ex.7 จงหาสมการเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรง 4x=5+y4 - x = 5 + y ที่ห่างกัน 44 หน่วย

วิธีทำ

จากเส้นตรง 4x=5+y4 - x = 5 + y จัดรูปใหม่ให้อยู่ในรูปทั่วไปได้เป็น x+y+1=0x + y + 1 = 0
กำหนดให้ L:x+y+1=0L: x + y + 1 = 0 เป็นเส้นตรงจากโจทย์ และให้ :x+y+c=0\ell: x+y+c=0 เป็นเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรง LL เมื่อ cc เป็นจำนวนจริง
ให้ dd เป็นระยะทางระหว่างเส้นตรง LL ที่ขนานกับเส้นตรง \ell ที่ห่างกัน 44 หน่วย
จะได้ว่า d=1c12+12\displaystyle d = \frac{\left| 1 - c \right|}{\sqrt{1^2+1^2}} นั่นคือ 42=1c4\sqrt{2} = \left| 1 - c \right|
ทำให้ได้ว่า 1c=421-c = 4\sqrt{2} หรือ 1c=421-c = -4\sqrt{2} \ นั่นคือ c=142c= 1-4\sqrt{2} หรือ c=1+42c= 1+4\sqrt{2}
ดังนั้น สมการเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรง 4x=5+y4 - x = 5 + y ที่ห่างกัน 44 หน่วย คือ
สมการ x+y+(142)=0x + y + (1-4\sqrt{2}) = 0 และ x+y+(1+42)=0x + y + (1+4\sqrt{2}) = 0

Post

ภาคตัดกรวย

ภาคตัดกรวย (conic section) เป็นการหาภาพการตัดของกรวยกลมตรงในระนาบต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ซึ่งภาพการตัดที่ได้จะมีได้แก่ วงกลม วงรี ไฮเพอร์โบลา และพาราโบลา

วงกลม

Post

Ex.8 จงหาสมการเส้นสัมผัสของวงกลม x2+y2=25x^2 +y^2 = 25 ที่จุด (3,4)(3, 4)

วิธีทำ

ความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด (0,0)(0,0) และ (3,4)(3,4) เท่ากับ 4030=43\displaystyle \frac{4-0}{3-0} = \frac{4}{3}
จะได้ว่า สมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (0,0)(0,0) และ (3,4)(3,4) คือ สมการ y=43xy = \frac{4}{3} x
ให้ mm เป็นความชันของเส้นตรงที่ตั้งฉากกับ y=43x\displaystyle y = \frac{4}{3} x จะได้ว่า m43=1\displaystyle m\cdot \frac{4}{3} = -1 นั่นคือ m=34m = -\frac{3}{4}
ต่อไปจะหาสมการเส้นตรงที่ตั้งฉากกับ y=43xy = \frac{4}{3} x ที่ผ่านจุด (3,4)(3, 4) ดังนี้

yy1=m(xx1)y4=34(x3)y=34x+254 \begin{align*} y - y_1 &= m(x - x_1) \\ y - 4 &= -\frac{3}{4} (x-3) \\ y &= -\frac{3}{4}x + \frac{25}{4} \end{align*}

ดังนั้น สมการเส้นสัมผัสของวงกลม x2+y2=25x^2 +y^2 = 25 ที่จุด (3,4)(3, 4) คือ สมการ y=34x+254\displaystyle y = -\frac{3}{4}x + \frac{25}{4}

PostPost

Ex.9 จงหาจุดยอด ความยาวแกนเอก จุดปลายแกนโท ความยาวแกนโท และจุดโฟกัสของวงรี x24+y2=4\displaystyle \frac{x^2}{4} +y^2 = 4

วิธีทำ

จากวงรี x24+y2=4\displaystyle \frac{x^2}{4} +y^2 = 4 จัดรูปใหม่ได้เป็น x216+y24=1\displaystyle \frac{x^2}{16} + \frac{y^2}{4} = 1
พิจารณาหาจุดยอดและความยาวแกนเอก โดยให้ y=0y=0 จะได้ว่า

x216+024=1x2=16x216=0(x4)(x+4)=0x=4,4 \begin{align*} \frac{x^2}{16} + \frac{0^2}{4} &= 1 \\ x^2 &= 16 \\ x^2-16 &= 0 \\ (x-4)(x+4) &= 0 \\ x &= 4, -4 \end{align*}

ดังนั้น จุดปลายแกนเอกหรือจุดยอด คือ จุด (4,0)(4,0) และ (4,0)(-4,0)
ทำให้ความยาวแกนเอกเท่ากับ (4(4))2=8\sqrt{(4-(-4))^2} = 8 หน่วย
ต่อไปจะหาจุดปลายแกนโทและความยาวแกนโท โดยให้ x=0x=0 จะได้ว่า

0216+y24=1y2=4y24=0(y2)(y+2)=0y=2,2 \begin{align*} \frac{0^2}{16} + \frac{y^2}{4} &= 1 \\ y^2 &= 4 \\ y^2-4 &= 0 \\ (y-2)(y+2) &= 0 \\ y &= 2, -2 \end{align*}

ดังนั้น จุดปลายแกนโท คือ จุด (0,2)(0,2) และ (0,2)(0,-2)
ทำให้ความยาวแกนโทเท่ากับ (2(2))2=4\sqrt{(2-(-2))^2} = 4 หน่วย
ต่อไปจะหาจุดโฟกัส เนื่องจากจุดโฟกัสอยู่ที่จุด (c,0)(c,0) และ (c,0)(-c,0) เมื่อ a2b2=c2a^2 - b^2 = c^2
นั่นคือ a2b2=164=12=c2a^2 - b^2 = 16 - 4 = 12 = c^2 ดังนั้น c=12c = \sqrt{12}
เพราะฉะนั้น จุดโฟกัส คือ จุด (12,0)(\sqrt{12},0) และ (12,0)(-\sqrt{12},0)

Post

สำหรับวงรีดังกล่าวเป็นวงรีที่รีตามแกน XX และมีวงรีอีกรูปแบบหนึ่งที่รีตามแกน YY เขียนในรูปมาตรฐานได้เป็น

x2b2+y2a2=1 \begin{align*} \frac{x^2}{b^2} + \frac{y^2}{a^2} = 1 \end{align*}

เมื่อ a>b>0a>b>0 โดยแกนเอกอยู่บนแกน YY ส่วนแกนโทอยู่บนแกน XX และจุดโฟกัสอยู่ที่ (0,c)(0,c) และ (0,c)(0,-c)

Post

Ex.10 จงหาจุดยอด ความยาวแกนตามขวาง ความยาวแกนสังยุค เส้นกำกับ และจุดโฟกัสของไฮเพอร์โบลา 4x29y2=364x^2 - 9y^2 = 36

วิธีทำ

เนื่องจากไฮเพอร์โบลาในรูปมาตรฐาน คือ x2a2y2b2=1\displaystyle \frac{x^2}{a^2} - \frac{y^2}{b^2} = 1 เมื่อ aa และ bb เป็นจำนวนจริงบวก
จะได้ว่า ไฮเพอร์โบลา 4x29y2=364x^2 - 9y^2 = 36 สามารถจัดรูปใหม่ได้เป็น x29y24=1\displaystyle \frac{x^2}{9} - \frac{y^2}{4} = 1
(นั่นคือ a=3a=3 และ b=2b=2)
ดังนั้น จุดยอด คือ จุด (a,0)(a,0) และ (a,0)(-a,0) นั่นคือ (3,0)(3,0) และ (3,0)(-3,0)
แกนตามขวางยาว 2a=62a = 6 หน่วย และแกนสังยุคยาว 2b=42b = 4 หน่วย
เส้นกำกับ คือ สมการ y=23x\displaystyle y = \frac{2}{3} x และ y=23x\displaystyle y = -\frac{2}{3} x
เนื่องจาก c2=a2+b2c^2 = a^2 + b^2 จะได้ว่า c=32+22=13c=\sqrt{3^2+2^2} = \sqrt{13}
ดังนั้น จุดโฟกัส จุด (c,0)(c,0) และ (c,0)(-c,0) นั่นคือ จุด (13,0)(\sqrt{13}, 0) และ (13,0)(-\sqrt{13}, 0)

PostPost

Ex.11 จงหาความยาวลาตัสเรคตัม ไดเรกตริกซ์ และจุดโฟกัสของพาราโบลา y=4x2y = 4x^2

วิธีทำ

เนื่องจากพาราโบลาในรูปมาตรฐาน คือ x2=4pyx^2 = 4py เมื่อ pp เป็นจำนวนจริงที่ไม่ใช่ 00
จะได้ว่า พาราโบลา y=4x2y = 4x^2 สามารถจัดรูปใหม่ได้เป็น x2=14y\displaystyle x^2 = \frac{1}{4} y นั่นคือ x2=4(116)y\displaystyle x^2 = 4 \left(\frac{1}{16}\right) y
เพราะฉะนั้น p=116\displaystyle p=\frac{1}{16}
ดังนั้น ลาตัสเรคตัมยาว 2p=2116=18\displaystyle\left|2p\right| = \left|2 \cdot \frac{1}{16}\right| = \frac{1}{8} หน่วย
ไดเรกตริกซ์ คือ สมการ y=py = -p นั่นคือ สมการ y=116\displaystyle y = -\frac{1}{16}
และจุดโฟกัส จุด (0,p)(0,p) นั่นคือ จุด (0,116)\left(0, \frac{1}{16}\right)

Post

ข้อสอบจริง A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย (ปี 66)

ให้ (a,b)(a,b) เป็นจุดบนวงรี x22+y23=1\displaystyle \frac{x^2}{2} + \frac{y^2}{3} = 1
ถ้าระยะห่างระหว่างจุด (a,b)(a,b) กับจุด (0,54)\left(0,-\frac{5}{4}\right) เท่ากับระยะระหว่างจุด (a,b)(a,b) กับเส้นตรง y=34y=-\frac{3}{4}
แล้วค่าของ bb เท่ากับเท่าใด

  1. 3-3
  2. 32\displaystyle -\frac{3}{2}
  3. 34\displaystyle -\frac{3}{4}
  4. 32\displaystyle \frac{3}{2}
  5. 33

วิธีทำ

เนื่องจากระยะห่างระหว่างจุด (a,b)(a,b) กับจุด (0,54)\left(0,-\frac{5}{4}\right)
เท่ากับระยะระหว่างจุด (a,b)(a,b) กับเส้นตรง y=34y=-\frac{3}{4} (หรือเส้นตรง 0x+1y+34=0\displaystyle 0 \cdot x + 1 \cdot y + \frac{3}{4} = 0)
จะได้ว่า

(a0)2+(b(54))2 = 0(a)+1(b)+3402+12a2+(b+54)2 = b+34(a2+(b+54)2)2 = (b+34)2a2+(b2+2b54+(54)2) = b2+2b34+(34)2a2 = b1 \begin{align*} \sqrt{\left(a-0\right)^2+\left(b-\left(-\frac{5}{4}\right)\right)^2}\ &=\ \frac{\left|0(a)+1(b)+\displaystyle\frac{3}{4}\right|}{\sqrt{0^2+1^2}} \\ \sqrt{a^2+\left(b+\frac{5}{4}\right)^2}\ &=\ \left|b+\displaystyle\frac{3}{4}\right| \\ \left(\sqrt{a^2+\left(b+\frac{5}{4}\right)^2}\right)^2\ &=\ \left(\left|b+\displaystyle\frac{3}{4}\right|\right)^2 \\ a^2+\left(b^2 +2 \cdot b \cdot \frac{5}{4} + \left(\frac{5}{4}\right)^2\right) \ &=\ b^2 +2 \cdot b \cdot \frac{3}{4} + \left(\frac{3}{4}\right)^2 \\ a^2 \ &=\ - b - 1 \end{align*}

เนื่องจาก (a,b)(a,b) เป็นจุดบนวงรี จะได้ว่า a22+b23=1\displaystyle \frac{a^2}{2} + \frac{b^2}{3} = 1 นั่นคือ 3a2+2b2=63a^2 + 2b^2 = 6
และนำ a2=b1a^2 = -b-1 ไปแทนในสมการ 3a2+2b2=63a^2 + 2b^2 = 6 จะได้ว่า

3(b1)+2b2 = 62b23b9 = 0(2b+3)(b3) = 0b = 32,3 \begin{align*} \\ 3(-b-1) + 2 b^2\ &=\ 6 \\ 2b^2 - 3b - 9\ &=\ 0 \\ (2b + 3)(b - 3)\ &=\ 0 \\ b\ &=\ -\frac{3}{2}, 3 \end{align*}

จัดรูปสมการวงรี x22+y23=1\displaystyle \frac{x^2}{2} + \frac{y^2}{3} = 1 ให้อยู่ในรูปมาตรฐานได้เป็น x2(2)2+y2(3)2=1\displaystyle \frac{x^2}{(\sqrt{2})^2} + \frac{y^2}{(\sqrt{3})^2} = 1
แสดงว่า 2<a<2-\sqrt{2} < a < \sqrt{2} และ 3<b<3-\sqrt{3} < b < \sqrt{3}
ดังนั้น b=32 \displaystyle b = -\frac{3}{2}

ตอบ ข้อ 2. 32\displaystyle -\frac{3}{2}