ความถนัดแพทย์ MEDDENT
เข้าสู่ระบบ
ปรึกษาแอดมิน
สรุปเนื้อหา ตรรกศาสตร์

สรุปเนื้อหา ตรรกศาสตร์

เมษายน 7, 2025

ตรรกศาสตร์คืออะไร ?

ตรรกศาสตร์ (Logic) คือ แขนงหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยการใช้เหตุผลและหลักการคิดเชิงตรรกะ เพื่อช่วยให้เราตรวจสอบความถูกต้องของประโยคหรือข้อความได้อย่างแม่นยำ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญของคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และแม้แต่การใช้เหตุผลในชีวิตประจำวัน แล้วถ้าจะเริ่มเรียนตรรกศาสตร์ ควรจะรู้อะไรก่อน มาดูกันเลยย

ประพจน์ (Statement)

ประพจน์ คือ ข้อความที่สามารถบอกได้ว่า จริง (T)(T) หรือ เท็จ (F)(F) อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างประพจน์:

  • 2+3=52 + 3 = 5 เป็นจริง (T)(T)
  • กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย เป็นจริง (T)(T)
  • 55 เป็นเลขคู่ เป็นเท็จ (F)(F)

โดยจะใช้ตัวอักษร p, q, rp,\ q,\ r เป็นสัญลักษณ์แทนประพจน์

ไม่ใช่ประพจน์ คือ ประโยคที่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นจริงหรือเท็จ
ตัวอย่างไม่ใช่ประพจน์:

  • วันนี้กินอะไร
  • วันนี้อากาศดี

การเชื่อมประพจน์

การเชื่อมประพจน์ คือการเอาประโยคมาเชื่อมกัน โดยการใช้ตัวเชื่อม:

  • \land (และ): ถ้ามี เท็จ (F)(F) แค่ 1 ตัว ให้เป็น เท็จ (F)(F) ทั้งหมด
  • \vee (หรือ): ถ้าเป็น จริง (T)(T) แค่ 1 ตัว ให้เป็น จริง (T)(T) ทั้งหมด
  • \rightarrow (ถ้า...แล้ว...): เป็น เท็จ (F)(F) ก็ต่อเมื่อ pp เป็นจริง (T)(T) และ qq เป็นเท็จ (F)(F) เท่านั้น
  • \leftrightarrow (...ก็ต่อเมื่อ...): ถ้าประพจน์เหมือนกัน จะเป็นจริง (T)(T)
  • \sim (ไม่, นิเสธ): ค่าประพจน์ที่ตรงข้ามกัน

Math

วิธีการหาค่าความจริงของประพจน์

การหาค่าความจริงของประพจน์ หมายถึง การพิจารณาว่าประโยคหรือข้อความนั้นเป็น จริง(T)(T) หรือ เท็จ(F)(F) โดยอาศัยหลักตรรกศาสตร์ โดยกำหนด pp : จริง, qq : จริง, rr : เท็จ, ss : เท็จ

p(qs)=F(TF)=FF=F \begin{align*} \sim p \vee (q \land s) &= F \vee (T \land F) \\ &= F \vee F \\ &= F \end{align*}

(qr)s=(TF)T=FT=F \begin{align*} (q \rightarrow r) \land \sim s &= (T \rightarrow F) \land T \\ &= F \land T \\ &= F \end{align*}

(rs)(pq)=(TT)(TF)=TT=T \begin{align*} (\sim r \rightarrow \sim s) \land (p \vee \sim q) &= (T \rightarrow T) \land (T \vee F) \\ &= T \land T \\ &= T \end{align*}

ตารางค่าความจริง

ตารางค่าความจริงคือตารางที่ใช้แสดงค่าความจริงของประพจน์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ โดยใช้ตัวเชื่อมตรรกศาสตร์
ตัวอย่างการสร้างตารางค่าความจริงของ (pq)p(p \vee q) \rightarrow \sim p

Math

สัจนิรันดร์

สัจนิรันดร์คือประพจน์ที่เป็นจริงเสมอ ไม่ว่าค่าความจริงของตัวแปรจะเป็นอะไร
ถ้าสามารถทำให้ประพจน์เป็นเท็จได้ ประพจน์นั้นจะไม่ใช่สัจนิรันดร์

สมมูล

ประพจน์ที่สมมูลกัน คือ ประพจน์ที่ให้ค่าความจริงเหมือนกันทุกกรณีและสามารถใช้แทนกันได้ ในตรรกศาสตร์ใช้
แทนสัญลักษณ์ \equiv

ซึ่งถ้า pp เป็นจริง จะแทนด้วยสัญลักษณ์ pTp \equiv T

ถ้า qq เป็นจริง จะแทนด้วยสัญลักษณ์ qTq \equiv T

ถ้า pp มีค่าความจริงเหมือนกันกับ qq แสดงว่า pp สมมูลกับ qq จะแทนด้วยสัญลักษณ์ pqp\equiv q

รูปแบบประพจน์ที่สมมูลกัน

pqpqpqqp(pq)pq(pq)pq \begin{align*} p \rightarrow q &\equiv \sim p \vee q \\ p \rightarrow q &\equiv \sim q \rightarrow \sim p \\ \sim (p \vee q) &\equiv \sim p \land \sim q \\ \sim (p \land q) &\equiv \sim p \vee \sim q \end{align*}

การอ้างเหตุผล

คือเหตุการณ์หลายๆเหตุ ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ แล้วคิดว่าสมเหตุสมผลไหม การอ้างเหตุผลจะประกอบด้วย

  • เหตุหรือสิ่งที่กำหนดให้
  • ผลหรือข้อสรุป

ตัวอย่าง ถ้า (p1p2p3)q{(p}_1\land p_2\land p_3)\rightarrow q เป็นสัจนิรันดร์ หมายถึง การอ้างเหตุผลนั้นสมเหตุสมผล

ถ้า (p1p2p3)q{(p}_1\land p_2\land p_3)\rightarrow q ไม่เป็นสัจนิรันดร์ หมายถึง การอ้างเหตุผลนั้นไม่สมเหตุสมผล

ประโยคเปิด

คือประโยคที่มีตัวแปรอยู่ แต่ยังไม่นับว่าเป็นประพจน์ เราสามารถทำให้เป็นประพจน์ได้โดยใส่ตัวบ่งปริมาณเข้าไป

ตัวบ่งปริมาณ

คือตัวที่เอาไปใส่หน้าประโยคเปิดเพื่อกำหนดขอบเขตให้ตัวแปร จะมี 2 ตัว

  • ตัวบ่งปริมาณ ทั้งหมด (x\forall x)
    xP(x)\forall x P(x) หมายถึง xx ทุกตัวใน U\mathcal{U} เงื่อนไข PP
  • ตัวบ่งปริมาณ บางตัว (x\exists x)
    xP(x)\exists x P(x) หมายถึง มี xx อย่างน้อย 1 ตัวใน U\mathcal{U} เงื่อนไข PP

ข้อสังเกตุ
x[P(x)]\forall x[P(x)] เป็นจริง เมื่อ xx ทุกตัว แทนแล้ว P(x)P(x) เป็นจริงหมดทุกตัว
x[P(x)]\forall x[P(x)] เป็นเท็จ เมื่อมี xx อย่างน้อย 11 ตัว แทนแล้ว P(x)P(x) เป็นเท็จ
x[P(x)]\exists x[P(x)] เป็นจริง เมื่อมี xx อย่างน้อย 11 ตัว แทนแล้ว P(x)P(x) เป็นจริง
x[P(x)]\exists x[P(x)] เป็นเท็จ เมื่อ xx ทุกตัว แทนแล้ว P(x)P(x) เป็นเท็จหมดทุกตัว

ตัวอย่าง

1. จงหาค่าความจริงของ x[(x<0)(x2>0)]\forall x[(x<0)\rightarrow(x^2>0)] โดยกำหนดให้ U=[1, 0, 1]\mathcal{U}=[{-1,\ 0,\ 1}]

x=1;(1<0)(1>0) T         T       Tx=0;(0<0)(0>0)F    F          Tx=1;(1<0)(1>0)  F      T     T \begin{align*} x=-1 ; (-1<0)\rightarrow(1>0)\\ \ T\ \ \ \ \rightarrow\ \ \ \ \ T\ \ \ \ \equiv\ \ \ T\\ x=0 ; (0<0)\rightarrow(0>0)\\ F\ \rightarrow\ \ \ F\ \ \ \ \ \ \ \equiv\ \ \ T\\ x=1 ; (1<0)\rightarrow(1>0)\\ \ \ F\ \ \ \rightarrow\ \ \ T\ \ \ \ \equiv\ T \end{align*}

ประพจน์ทุกตัวเป็นจริง คำตอบคือ จริง

2. จงหาค่าความจริงของ x[(x<0)(x1=0)]\exists x[(x<0)\land(x-1=0)] โดยกำหนดให้ U=[1, 0, 1]\mathcal{U}=[{-1,\ 0,\ 1}]

x=1;(1<0)(11)=0T            F         Fx=0;(0<0)(01)=0     F       F          Fx=1;(1<0)(11)=0     F        T         F \begin{align*} x=-1 ; (-1<0)\land(-1-1)=0\\ T\ \ \ \ \ \land\ \ \ \ \ \ \ F\ \ \ \ \ \ \ \ \equiv\ F\\ x=0 ; (0<0)\land(0-1)=0\\ \ \ \ \ \ F\ \ \ \land\ \ \ \ F\ \ \ \ \ \ \ \ \ \equiv\ F\\ x=1 ; (1<0)\land(1-1)=0\\ \ \ \ \ \ F\ \ \ \ \land\ \ \ \ T\ \ \ \ \ \ \ \ \equiv\ F \end{align*}

ไม่มี xx สักตัวที่ทำให้เป็นจริง คำตอบคือ เท็จ