ความถนัดแพทย์ MEDDENT
เข้าสู่ระบบ
ปรึกษาแอดมิน
สรุปเนื้อหา จำนวนจริง

สรุปเนื้อหา จำนวนจริง

เมษายน 21, 2025

สวัสดีคร้าบบ^^ โพสต์นี้พี่หมอแม็คจะมาพูดเกี่ยวกับจำนวนจริง ซึ่งเรื่องนี้เป็นพื้นฐานสำคัญถือว่าเป็นหัวใจหลักในการคำนวณ และต้องนำเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ต่ออีกหลายเรื่อง พี่หมอแม็คได้สรุปเนื้อหาไว้ในโพสต์นี้โพสต์เดียวแล้วนะครับ นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการทำข้อสอบเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากกันคั้บบ

โครงสร้างของจำนวนจริง

Post
  • จำนวนจริง (real number) ประกอบไปด้วยจำนวนตรรกยะและจำนวนอตรรกยะ
  • จำนวนตรรกยะ: จำนวนที่เขียนในรูปเศษส่วนได้ เช่น 7, 0, 5, 12, 13\displaystyle 7,\ 0,\ -5,\ \frac{1}{2},\ \frac{1}{3}
    จะเห็นว่า จำนวนตรรกยะอาจเป็นจำนวนเต็ม หรือเศษส่วน หรือทศนิยมซ้ำก็ได้
  • จำนวนอตรรกยะ: จำนวนที่เขียนในรูปเศษส่วนไม่ได้ เช่น 21.414, 31.732,52.236, π3.142\sqrt{2} \approx 1.414,\ \sqrt{3} \approx 1.732,\\ \sqrt{5} \approx 2.236,\ \pi \approx 3.142 เป็นต้น

สมบัติของจำนวนจริง

จำนวนจริงมีสมบัติภายใต้การบวก (++) และการคูณ (\cdot) ต่อไปนี้

Post

พหุนาม

พหุนาม (polynomial) นิยมเขียนด้วย p(x), q(x)p(x),\ q(x) หรือ r(x)r(x) คือ การรวมของพจน์ในรูป

anxn+an1xn1++a1x+a0 \begin{align*} a_nx^n+a_{n-1}x^{n-1}+\cdots+a_1x+a_0 \end{align*}

เมื่อ nn เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นลบ ซึ่งเรียกว่า ดีกรี (degree) ของ p(x)p(x) เขียนแทนด้วย deg(p(x))\deg (p(x))
โดยที่ a0,a1,,ana_0, a_1, \ldots, a_n เป็นจำนวนจริง และ an0a_n \neq 0 จะเรียกว่า สัมประสิทธิ์ (coefficient)

ตัวอย่างของพหุนาม

  • x33x2+4x1x^3-3x^2+4x-1 เป็นพหุนามดีกรี 33
  • 6x76x^7 เป็นพหุนามดีกรี 77

การบวกและลบพหุนาม

การบวก/ลบพหุนามสามารถนำพจน์คล้ายกันบวก/ลบได้เลย แต่ถ้าไม่มีพจน์ที่คล้ายกันให้ค้างไว้นะคับ

Post

การคูณพหุนาม

การคูณพหุนามให้คูณกระจายแต่ละพจน์เข้าอีกวงเล็บ แล้วนำมาบวกหรือลบตามปกติได้เลยครับ

Post

การหารพหุนาม

ขั้นตอนวิธีการหารพหุนาม

ตัวตั้ง=ตัวหารผลหาร+เศษเหลือa(x)=b(x)q(x)+r(x) \begin{align*} \text{ตัวตั้ง} &= \text{ตัวหาร} \cdot \text{ผลหาร} + \text{เศษเหลือ} \\ a(x) &= b(x) \cdot q(x) + r(x) \end{align*}

เมื่อหาร a(x)a(x) ด้วย b(x)b(x) ทำให้ได้ผลหาร q(x)q(x) และเศษเหลือ r(x)r(x) ซึ่งสามารถเกิดได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 deg(r(x))deg(b(x))\deg(r(x)) \leq \deg(b(x)) นั่นคือ ดีกรีของเศษเหลือน้อยกว่าดีกรีผลหาร
กรณีที่ 2 เศษเหลือ r(x)=0r(x) = 0 (ในที่นี้จะเป็นการหารลงตัวนั่นเอง)

Post

การแยกตัวประกอบของพหุนาม
จากขั้นตอนวิธีการหารพหุนาม ในกรณีที่เป็นการหารลงตัว นั่นคือ a(x)=b(x)q(x)a(x) = b(x) \cdot q(x)
แล้วจะกล่าวว่า b(x)b(x) และ q(x)q(x) เป็นตัวประกอบของ a(x)a(x) สำหรับการแยกตัวประกอบพหุนามทำได้หลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและเทคนิค ซึ่งพี่แม็คสรุปให้น้องตามรูปนี้ค้าบบ

PostPost

สำหรับทฤษฎีบทที่พี่แม็คจะพูดถึงต่อไปนี้ได้แก่ ทฤษฎีบทเศษเหลือ และทฤษฎีบทตัวประกอบ ทั้ง 2 ทฤษฎีบทนี้จะเป็นตัวช่วยในการแยกตัวประกอบของพหุนามให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยพิจารณาจากตัวประกอบของพจน์ที่เป็นค่าคงที่ อีกทั้งสามารถแยกตัวประกอบของพหุนาที่ดีกรีมากกว่า 22 ได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วยค้าบบ

PostPost

สมการพหุนาม

สมการพหุนาม คือ สมการที่เขียนในรูป

anxn+an1xn1++a1x+a0=0 \begin{align*} a_nx^n+a_{n-1}x^{n-1}+\cdots+a_1x+a_0 = 0 \end{align*}

คำตอบ (solution) ของสมการพหุนาม คือ จำนวนจริง cc ที่ทำให้ p(c)=0p(c) = 0 (นั่นคือ แทนค่า xx ด้วย cc แล้วสมการเป็นจริง)

การแก้สมการพหุนามสามารถทำได้หลายวิธีกันเลย อย่างเช่น ใช้การแยกตัวประกอบของพหุนามที่พี่แม็คได้พูดถึงมาแล้ว ซึ่งจะได้ผลคูณของตัวประกอบเท่ากับ 00 แสดงว่า ต้องมีตัวประกอบที่มีค่าเท่ากับ 00 นั่นคือ จับแต่ละวงเล็บไปเท่ากับ 00 แล้วหาคำตอบของแต่ละสมการออกมาได้เลยคับ หรืออีกวิธีนึงถ้าเป็นสมการพหุนามดีกรี 22 โดยใช้สูตร สามารถหาคำตอบของสมการ ax2+bx+c=0ax^2 + bx + c = 0 ได้คือ x=b±b24ac2a\displaystyle x = \frac{-b\pm\sqrt{b^2-4ac}}{2a} นั่นเองค้าบบ

การไม่เท่ากันของจำนวนจริง

ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการไม่เท่ากันของจำนวนจริง ได้แก่ ความสัมพันธ์มากกว่า มากกว่าหรือเท่ากับ น้อยกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับ ไม่เท่ากับ
สมบัติการไม่เท่ากันของจำนวนจริง
ให้ a,ba, b และ cc เป็นจำนวนจริง

  1. ถ้า a<ba < b และ b<cb < c แล้ว a<ca < c
  2. ถ้า a<ba < b แล้ว a+c<b+ca+c < b+c
  3. ถ้า a+c<b+ca+c < b+c แล้ว a<ba < b
  4. ถ้า a<ba < b และ c>0c > 0 แล้ว ac<bcac < bc
  5. ถ้า ac<bcac < bc และ c>0c > 0 แล้ว a<ba < b
  6. ถ้า a<ba < b และ c<0c < 0 แล้ว ac>bcac > bc
  7. ถ้า ac<bcac < bc และ c<0c < 0 แล้ว a>ba > b

ช่วง

ช่วง (interval) คือ เซตของจำนวนจริงที่กำหนดค่าพิจารณาไว้อย่างต่อเนื่อง

Post

อสมการพหุนาม

อสมการพหุนาม คือ ประโยคที่แสดงถึงความไม่เท่ากัน โดยใช้เครื่องหมาย >,,<,>, \geq, <, \leq หรือ \neq

การแก้อสมการพหุนามสามารถทำได้โดยใช้การแยกตัวประกอบพหุนามที่พี่แม็คได้พูดถึงมาแล้วได้เลยครับ แล้วหลังจากนั้นให้พิจารณาบนช่วงที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ นั่นคือ แบ่งช่วง +//++/-/+ นั่นเองคร้าบบ ถ้าเป็นความสัมพันธ์มากกว่าให้ตอบช่วง ++ และถ้าเป็นความสัมพันธ์น้อยกว่าให้ตอบช่วง - ครับ

Post

ค่าสัมบูรณ์

ค่าสัมบูรณ์ (absolute value) ของจำนวนจริง xx เขียนแทนด้วย x\left|x\right| กำหนดโดย

x={xเมื่อ x0xเมื่อ x<0 \begin{align*} \left | x \right |= \begin{cases} x & \text{เมื่อ } x \geq 0 \\-x & \text{เมื่อ } x < 0 \end{cases} \end{align*}

ข้อสอบจริง A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เรื่องจำนวนจริง (ปี 66)

ให้ p(x)=x3+(k1)x2k3p(x) = x^3 + (k-1)x^2 - k^3 เมื่อ kk เป็นจำนวนจริงลบ ถ้าเศษเหลือจากการหาร p(x)p(x) ด้วย x3x-3 เท่ากับ 1818 แล้วเศษเหลือจากการหาร p(x)p(x) ด้วย 2x+12x+1 เท่ากับเท่าใด

  1. 33
  2. 1818
  3. 2222
  4. 2078\displaystyle \frac{207}{8}
  5. 2098\displaystyle \frac{209}{8}

วิธีทำ เนื่องจากเศษเหลือจากการหาร p(x)p(x) ด้วย x3x-3 เท่ากับ 1818 โดยทฤษฎีบทเศษเหลือ จะได้ว่า

p(3)=18(3)3+(k1)(3)2k3=1827+(9k9)k3=189kk3=0k(9k2)=0k(3k)(3+k)=0k=0, 3, 3 \begin{align*} p(3) &= 18 \\ (3)^3 + (k-1)(3)^2 - k^3 &= 18 \\ 27 + (9k-9) - k^3 &= 18 \\ 9k - k^3 &= 0 \\ k(9-k^2) &= 0 \\ k(3-k)(3+k) &= 0 \\ k &= 0,\ 3,\ -3 \end{align*}

ดังนั้น k=3k=-3
เพราะฉะนั้น p(x)=x34x2+27p(x) = x^3 - 4x^2 + 27 ทำให้เศษเหลือจากการหาร p(x)p(x) ด้วย 2x+12x+1 เท่ากับ

p(12)=(12)34(12)2+27=184(14)+27=18+26=20818=2078 \begin{align*} p\left(-\frac{1}{2}\right) &= \left(-\frac{1}{2}\right)^3 - 4\left(-\frac{1}{2}\right)^2 +27\\ &= -\frac{1}{8} - 4\left(\frac{1}{4}\right) + 27\\ &= -\frac{1}{8} + 26\\ &= \frac{208-1}{8}\\ &= \frac{207}{8} \end{align*}

ตอบ ข้อ 4. 2078\displaystyle \frac{207}{8}