ความถนัดแพทย์ MEDDENT
เข้าสู่ระบบ
ปรึกษาแอดมิน
สรุปเนื้อหา เซต

สรุปเนื้อหา เซต

เมษายน 7, 2025

ถ้าน้อง ๆ เพิ่งขึ้น ม.4 เรื่องแรกที่ต้องเรียนในคณิตศาสตร์คือ เรื่องเซตซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของหลายบทใน ม.ปลาย ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ดี จะช่วยให้ต่อยอดไปบทอื่นได้ไม่ยาก แต่ถ้าอ่านแล้วยังงงไม่ต้องกังวลไปน้าา พี่แม็คสรุปเนื้อหาพร้อมตัวอย่างโจทย์มาให้แล้ว ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลย!!

เซตคืออะไร ?

เซต ก็คือ กลุ่มของอะไรบางอย่าง ที่เราสามารถบอกได้ชัดๆ ว่าสิ่งนั้นอยู่ในกลุ่มหรือเปล่า
เช่น เซตของผลไม้ในตะกร้า = {แอปเปิ้ล,กล้วย,ส้ม,มะม่วง}\{ \text{แอปเปิ้ล}, \text{กล้วย}, \text{ส้ม}, \text{มะม่วง} \}
และ เซตของเลขคู่ที่มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 10 = {2,4,6,8}\{2, 4, 6, 8\}

** Tip: ลำดับสมาชิกไม่มีความสำคัญนะ **
เวลาเขียนเซต เราจะใส่สมาชิกของเซตไว้ใน {}\{ \} ถ้าจะบอกว่าสิ่งไหนเป็นสมาชิกของเซต
เราจะใช้เครื่องหมาย \in (เป็นสมาชิก) แต่ถ้าไม่อยู่ในเซต เราจะใช้เครื่องหมาย \notin (ไม่เป็นสมาชิก)
เช่น 4 เป็นสมาชิกของเซตเลขคู่ที่มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 10 เขียนเป็น 4{2,4,6,8}4 \in \{2, 4, 6, 8\}
แต่ 5 ไม่ใช่สมาชิกของเซตเลขคู่เต็มบวก ก็เขียนเป็น 5{2,4,6,8} 5 \notin \{2, 4, 6, 8\}

วิธีเขียนเซต

มี 2 วิธีหลักๆ ในการเขียนเซตคือ

  1. เขียนแบบแจกแจงสมาชิก (บอกไปเลยว่าอะไรอยู่ในเซต)
    เช่น {1,2,3,4,5}\{1, 2, 3, 4, 5\}
  2. เขียนแบบบอกเงื่อนไข (อธิบายแทนที่จะไล่เรียงทุกตัว)
    เช่น {xNx<10}\{x \in \mathbb{N} \mid x < 10\} (x ต้องเป็นจำนวนนับ โดยที่ x น้อยกว่า 5)

ชนิดของเซต

  • เซตว่าง คือ ไม่มีอะไรอยู่ในเซตเลย เช่น {}\{\} หรือ \emptyset
  • เซตจำกัด คือ เซตที่บอกจำนวนสมาชิกได้แน่นอน เช่น {1,2,3}\{1, 2, 3\}
  • เซตอนันต์ คือ เซตที่มีจำนวนสมาชิกนับไม่ถ้วน เช่น {1,2,3,}\{1, 2, 3, \dots\}
  • เซตเอกภพสัมพัทธ์ (U)(U) คือ เซตที่กำหนดขอบเขตของสมาชิกในเซต
    N\mathbb{N} แทนเซตของจำนวนนับ
    Z\mathbb{Z} แทนเซตของจำนวนเต็ม
    Q\mathbb{Q} แทนเซตของจำนวนตรรกยะ
    Q\mathbb{Q}^\prime แทนเซตของจำนวนอตรรกยะ
    R\mathbb{R} แทนเซตของจำนวนจริง
    C\mathbb{C} แทนเซตของจำนวนเชิงซ้อน

ตัวอย่างที่ 1

กำหนดให้ U={2,0,2,4,6,8} U = \{-2, 0, 2, 4, 6, 8\} เป็นเอกภพสัมพัทธ์ A={x0<x6}A = \{x \mid 0 < x \leq 6 \} และ B={xx<6}B = \{x \mid x < 6 \}
เขียนเซต AA และ BB แบบแจกแจงสมาชิกจะได้ว่า A={2,4,6}A = \{2, 4, 6\} และ B={2,0,2,4}B = \{-2, 0, 2, 4\}

สับเซต (Subset)

ถ้าเซต AA เป็นสับเซตของเซต BB หรือพูดง่ายๆ ว่า สมาชิกที่อยู่ใน AA ต้องอยู่ใน BB ทุกตัว จะเขียนว่า ABA \subset B แต่ถ้า AA ไม่เป็นสับเซตของ BB (หมายถึงมีบางตัวใน AA ที่ไม่ได้อยู่ใน BB) จะใช้สัญลักษณ์ A⊄BA \not \subset B

**Tip: \emptyset (เซตว่าง) เป็นสับเซตของทุกเซต และเรายังสามารถหาจำนวนสมาชิกทั้งหมดได้โดยใช้ 2n2^n**

ตัวอย่างที่ 2

  • A={1,2}A = \{1, 2\}
  • B={1,2,3,5}B = \{1, 2, 3, 5\}
  • C={4,5}C = \{4, 5\}

จะเห็นว่าสมาชิกใน AA อยู่ใน BB ทั้งหมด ดังนั้น ABA \subset B แต่สมาชิกใน AA ไม่ได้อยู่ใน CC ทั้งหมด
ดังนั้น A⊄C A \not \subset C\ และสับเซตทั้งหมดของ AA คือ \emptyset, {1}\{1\}, {2}\{2\}, {1,2}\{1, 2\}

แผนภาพเวนน์ (Venn Diagram)

แผนภาพเวนน์คือ วิธีที่เราวาดรูปวงกลมเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ โดยใช้วงกลมแทนเซตๆ หนึ่ง ถ้าเซตนั้นมีสมาชิกที่เหมือนกันก็จะอยู่ในส่วนที่วงกลมซ้อนทับกัน ช่วยให้เห็นได้ชัดเจนว่าแต่ละเซตมีสมาชิกอะไรบ้าง อีกทั้งยังสามารถใช้ในการแก้โจทย์เกี่ยวกับการหาจำนวนสมาชิกในเซตได้อีกด้วย

การดำเนินการของเซต

การดำเนินการของเซตมี 4 แบบหลักๆ

  1. ยูเนียน (AB)(A \cup B) คือการรวมสมาชิกที่อยู่ใน AA กับ BB
    เช่น A={1,2} A = \{1, 2\} และ B={2,3} B = \{2, 3\} จะได้ว่า AB={1,2,3} A \cup B = \{1, 2, 3\}
  2. อินเตอร์เซกชัน (AB)(A \cap B) คือการเอาเฉพาะสมาชิกที่ AA และ BB มีเหมือนกัน
    เช่น A={1,2} A = \{1, 2\} และ B={2,3} B = \{2, 3\} จะได้ว่า AB={2} A \cap B = \{2\} (แค่ตัวที่ซ้ำกัน)
  3. คอมพลีเมนต์ (A)(A') คือทุกอย่างที่ไม่ใช่เซต AA
    ถ้าเซตเอกภพสัมพัทธ์คือ {1,2,3} \{1, 2, 3\} และ A={2} A = \{2\} จะได้ว่า A={1,3} A' = \{1, 3\} (ทุกอย่างที่เหลือ)
  4. ผลต่างของเซต (AB)(A - B) คือสมาชิกที่อยู่ใน AA แต่ไม่อยู่ใน BB
    เช่น A={1,2,3} A = \{1, 2, 3\} และ B={3,4,5} B = \{3, 4, 5\} จะได้ว่า AB={1,2} A - B = \{1, 2\} (เพราะ 3, 4, 5 มีใน BB แล้ว)
MathMathMathMath

การนับจำนวนสมาชิกของเซต

ถ้าให้ n(A)n(A) แทนจำนวนสมาชิกของเซต AA และ n(B)n(B) แทนจำนวนสมาชิกของเซต BB
สูตรที่ใช้บ่อยคือ

  1. n(A)=n(U)n(A)n(A) = n(U) - n(A')
  2. n(AB)=n(A)n(AB)n(A - B) = n(A) - n(A \cap B)
  3. n(AB)=n(A)+n(B)n(AB)n(A \cup B) = n(A) + n(B) - n(A \cap B)
  4. n(ABC)=n(A)+n(B)+n(C)n(AB)n(AC)n(BC)+n(ABC)n(A \cup B \cup C) = n(A) + n(B) + n(C) - n(A \cap B) - n(A \cap C) - n(B \cap C) + n(A \cap B \cap C)

ตัวอย่างที่ 3

สำรวจคน 20 คน ที่ต้องชอบดูหนังหรือฟังเพลงอย่างน้อย 1 อย่าง ถ้ามีคนชอบดูหนัง 12 คน และมีคนชอบฟังเพลง 14 คน จงหาจำนวนคนที่ชอบดูหนังและฟังเพลง
วิธีทำ

n(AB)=n(A)+n(B)n(AB)20=12+14x(แทน x=n(AB))x=2620=6 \begin{align*} n(A \cup B) &= n(A) + n(B) - n(A \cap B) \\ 20 &= 12 + 14 - x \quad (\text{แทน } x = n(A \cap B)) \\ x &= 26 - 20 = 6 \end{align*}

ตัวอย่างที่ 4

จากการสอบถามวิชาเรียนที่นักเรียนชอบ จำนวน 180 คน พบว่า มีคนชอบวิชาคณิตศาสตร์ 86 คน ชอบวิทยาศาสตร์ 87 คน ชอบภาษาอังกฤษ 70 คน ชอบคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 31 คน ชอบวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ 27 คน ชอบคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ 22 คน และ มี 5 คน ที่ไม่ชอบเรียนทั้ง 3 วิชา จงหาจำนวนนักเรียนที่ชอบทั้ง 3 วิชา จงหาจำนวนนักเรียนที่ชอบทั้ง 3 วิชา
วิธีทำ

กำหนดให้

คนที่ชอบคณิตศาสตร์ เป็น n(A) n(A)

คนที่ชอบวิทยาศาสตร์ เป็น n(B) n(B)

คนที่ชอบภาษาอังกฤษ เป็น n(C) n(C)

คนที่ชอบเรียนอย่างน้อย1วิชา จะเป็น

n(ABC)=1805=175 \begin{align*} n(A \cup B \cup C) &= 180 - 5 \\ &= 175 \end{align*}

จากสูตร

n(ABC)=n(A)+n(B)+n(C)n(AB)n(AC)n(BC)+n(ABC) n(A \cup B \cup C) = n(A) + n(B) + n(C) - n(A \cap B) - n(A \cap C) - n(B \cap C) + n(A \cap B \cap C)

แทนค่า

175=86+87+70312722+n(ABC)175=163+n(ABC)n(ABC)=12 \begin{align*} 175 &= 86 + 87 + 70 - 31 - 27 - 22 + n(A \cap B \cap C) \\ 175 &= 163 + n(A \cap B \cap C) \\ n(A \cap B \cap C) &= 12 \end{align*}